ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ของ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก
โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก
โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
ชื่ออังกฤษBuddhachinaraj Phitsanulok Hospital
Medical Education Center
ผู้อำนวยการพญ.อรวรรณ ไชยมหาพฤกษ์
สัญลักษณ์ตราสัญลักษณ์โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
วารสารพุทธชินราชเวชสาร
สถานปฏิบัติการโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
ที่อยู่90 ถนนศรีธรรมไตรปิฎก ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก 65000

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สังกัดโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก และเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์แห่งแรกกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2537

ประวัติ

พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2537 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2538 ที่เห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินโครงการร่วมผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท โดยกำหนดให้โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่เป็นสถาบันการศึกษาแพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และมีการทำข้อตกลงเรื่องความร่วมมือในการร่วมผลิตแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2538 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จึงได้เริ่มรับนิสิตแพทย์รุ่นแรกจำนวน 33 คน จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรตั้งแต่เดือน เมษายน พ.ศ. 2541 โดยทางโรงพยาบาลได้รับจัดสรรงบประมาณในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข เป็นเงิน 555.68 ล้านบาท ประกอบด้วยอาคารเรียนรวม 1 หลัง และอาคารหอพักนิสิตแพทย์ 1 หลัง

ทั้งนี้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เข้ามาร่วมพัฒนาในด้านการจัดทำหลักสูตรรายวิชาและการพัฒนาอาจารย์แพทย์และบุคลากรร่วมกัน รวมทั้งการชี้แจงนโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร ต่อมาได้มีคำสั่งแต่งตั้งผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก เป็นรองคณบดีฝ่ายคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มาจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะพิเศษของ โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทก็คือ การคัดเลือกนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากภูมิภาคและให้กลับไปทำงานที่ภูมิลำเนาเดิม เพื่อเป็นการกระจายโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาวิชาแพทยศาสตร์มากขึ้น เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะต้องปฏิบัติงานในภูมิลำเนาเดิมไม่น้อยกว่า 3 ปี หากไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ จะต้องชดใช้ทุนให้แก่กระทรวงสาธารณสุขตามที่กำหนด

หลักสูตรการศึกษา

ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ใน 1 หลักสูตร คือ

ปริญญาตรีสถาบันอุดมศึกษา

ระยะเวลาในการศึกษา

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้

ระดับชั้นสถานที่ศึกษา
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์และชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)

การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD) ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร รับนักเรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพื้นที่บริการการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก ตาก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิจิตร กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี และพะเยา โดยนิสิตแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก หรือศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ เมื่อจบการศึกษาแล้วจะต้องทำงานใช้ทุนในจังหวัดภูมิลำเนาของตนเองเป็นเวลา 3 ปี โครงการนี้จะดำเนินการเปิดรับสมัครในช่วงประมาณเดือนกันยายนของทุกปี ตามประกาศรับตรงประจำปีของมหาวิทยาลัยนเรศวร

แหล่งที่มา

WikiPedia: โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก http://www.educationsi.sicsc.net/std_manual59/pdf%... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://www.meded.nu.ac.th/def-course.asp#%E0%B8%AB... http://www.budhosp.go.th/home/ http://www.budhosp.go.th/home/?page_id=80 http://www.cpird.in.th/index.php/doctor_network/me... https://www.facebook.com/Buddhachinarajhospital https://web.archive.org/web/20180502140245/http://... https://web.archive.org/web/20210912074538/http://... https://www.budhosp.go.th